วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติบ้านดงแคนใหญ่

ประวัติดังเดิมบ้านดงแคนใหญ่
   ประวัติดังเดิมบ้านดงแคนใหญ่ หมู่บ้าน ตำบลดงแคนใหญ่ตามประวัติเดิม มีคนด้วยกัน 3 กลุ่ม คือ
   กลุ่มที่ 1 มาจากบ้านป๋าข่านาคำ ได้แก่กลุ่มนายแก้ว นางค่ำ  ภาคะ  พ่อแม่ของนายทุม  ภาคะ  เป็นผู้ให้ข้อมูล
  กลุ่มที่ 2  มาจากบ้านน้ำเต้า หนองแหน ได้แก่ กลุ่มพ่อใหญ่เม้า  กลุ่มพ่อใหญ่หนูโฮม  ทองทา   กลุ่มพ่อใหญ่อุ่น และลูกหลาน
  กลุ่มที่ 3  มาจากบ้านสัง บ้านนาฮี กลุ่มแม่มาลี มาจากบ้านดงบ้านเก่า ( ปัจจุบันเป็นบ้านอัมพวัน )  สมัยก่อนนายยง เป็นพวกขี่ช้าง ขี่ม้าปล้นจี้ มีบ้านรวมกันอยู่ 4 – 5 หลังคาเรือน จึงไม่มีพลังจะไปต่อสู้ จึงย้ายมาหาหมู่เพื่อนฝูง เพื่อหาพลังต่อต้านโจร
การตั้งวัดแรกเริ่ม
  การตั้งวัดนั้นมี ยาคูเทพ ยาคูท้าวเป็นน้องชายท่านตั้งวัดมาแล้วประมาณ 200 กว่าปี การตั้งวัดนั้นมี 3 หมู่บ้านตั้งพร้อมกันมีดังนี้
1.บ้านดงแคนใหญ่      2. บ้านนาแก     3. บ้านกู่จาน
บ้านดงแคนใหญ่มียาคูท้าว บ้านนาแกมียาคูเวียง  บ้านกู่จานมียาคูล่อน 3 ยาคูนี้
เวลามีการมีงานจะนิมนต์ได้ สมัยก่อนบ้านเมืองคนไม่เยอะเหมือนทุกวันนี้ ผมเห็นประวัติบ้านกู่จาน การตั้งวัด พ.ศ. 2323 การนับถือพระพุทธศาสนามาหลายชั่วยุคคลแล้ว
 ตั้งวัดบ้านดงแคนใหญ่ เมื่อ  พ.ศ.2323 จากรายการหนังสือวัด ของท่านพระครูกิตติธรรมนาถ ที่ว่าบ้านดงแคนใหญ่นั้นมีต้นตะเคียนเป็นภาษาภาคกลาง ( ส่วนทางบ้านเราเรียกว่า ไม้แคน หรือ ต้นแคนนั่นเอง ) มีอยู่ต้นหนึ่งที่ศาลากลางหมู่บ้าน ช่างช่วยกันขุดออก แล้วสร้างศาลาประชาคม แทนที่ ปัจจุบันอยู่ที่ศาลาหมู่ที่ 4 
การทำมาหากินของชาวบ้าน
  การทำมาหาเลี้ยงชีพของชาวบ้าน ผู้ชายมีการทอดแหจับปลาชนิดต่างๆ สมัยก่อนการทอดแหจับปลา ไม่มีใครหวงห้ามเหมือนทุกวันนี้ เพราะหามาไม่ได้เอามาขายเอามาพอเลี้ยงครอบครัว  ส่วนผู้หญิงก็มีการทำเครื่องนุ่งห่ม ทุกบ้านปลูกฝ้ายเลี้ยงไหม ทำเป็นอาชีพหลักของชาวบ้าน การเลี้ยงโค ( วัว ) หรือกระบือ ( ควาย )  มีการเลี้ยงกระบือทุกบ้าน เพื่อใช้แรงงานกระบือไถนา  ส่วนโคมีไม่มากใช้บรรทุกเกวียนสมัยนั้น
  หนองแคนเป็นหนองอยู่กลางป่า มีศาลเจ้าปู่ตาอยู่ทิศตะวันออก ปัจจุบันทางการได้ขุดลอกหนองมีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ เนื้อที่ทั้งหมดมี 45 ไร่ มีไม้ชนิดต่างๆ เช่น ต้นยางนา ต้นข่อย และต้นหมากหม้อ เป็นต้น
1.            หนองหัวลิง อยู่ทิศไต้ของหมู่บ้าน มีเนื้อที่ 16 ไร่
2.            หนองหัวเสือ อยู่ทิศไต้ของหมู่บ้าน
3.            หนองทุ่งมน อยู่ทิศตะวันตกของหมู่บ้าน
4.            หนองโง อยู่ทิศตะวันตกของหมู่บ้าน
5.            หนองขอน อยู่ทิศไต้ ไกลจากบ้าน 6 กิโลเมตร
6.            หนองไผ่ อยู่ทิศตะวันตกของหมู่บ้าน
7.            หนองว่า อยู่ทิศไต้ของหมู่บ้าน
          *** มีลำห้วยบ่อแกอีกหลายสายไหลผ่าน

ประวัติการตั้งนามสกุล
  จากหนังสือความรู้รอบตัว เมื่อ พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้คนไทยมีนามสกุลเพื่อรักศักดิ์ศรีรักษาพวกพ้อง จึงมีนามสกุลดังนี้
  นามสกุลพระราชทาน
1.            นามสกุล  ศิลารักษ์    คุณพ่อใหญ่ อ่อน                                   เป็นคนตั้ง
2.            นามสกุล  สุตะคาน    คุณพ่อใหญ่นนท์                                    เป็นคนตั้ง
3.            นามสกุล  บุญสุข        คุณพ่อกำนัน ( โหง )                             เป็นคนตั้ง
4.            นามสกุล  วงศ์ชาลี      คุณพ่อใหญ่ชาภูวงค์                              เป็นคนตั้ง
5.            นามสกุล  วงศ์อนันต์  คุณพ่อใหญ่พวง – พ่อใหญ่อนันต์         เป็นคนตั้ง
6.            นามสกุล  สีงาม          คุณพ่อใหญ่คูณ                                     เป็นคนตั้ง
7.            นามสกุล  ภาคะ          คุณพ่อใหญ่แก้ว – แม่ใหญ่ค่ำ               เป็นคนตั้ง
8.            นามสกุล  ทองทา       คุณพ่อใหญ่สีผา – แม่อ่อนตา                เป็นคนตั้ง
9.            นามสกุล  ขันธุลา       คุณพ่อใหญ่กำนันกิง                             เป็นคนตั้ง
10.    นามสกุล  เสาแก้ว       คุณพ่อใหญ่เอ็ด – แม่ใหญ่เลี่ยม            เป็นคนตั้ง
11.    นามสกุล  ทองลือ        คุณพ่อใหญ่แก้ว – แม่ใหญ่บัวลี            เป็นคนตั้ง

** สมัยก่อนมีแต่ ( ล ) ไม่มี ( ร )

7
นามสกุลผู้มาใหม่พัฒนาบ้านเรา มี 5 นามสกุล
1.            นามสกุล  บุญแท้        คุณพ่อใหญ่สิงห์         และลูกหลานของท่าน
2.            นามสกุล  พลพวก       คุณพ่อใหญ่เลิศ          และลูกหลานของท่าน       
3.            นามสกุล  ไชยช่วย      นายสิงห์                    และลูกหลานของท่าน       
4.            นามสกุล  จีระวัฒนานนท์   นายพิสิทธิ์  และลูกหลานของท่าน       
5.            นามสกุล  ถนัดทาง       คุณพ่อใหญ่จำรูญ          และลูกหลานของท่าน       

** และยังมีนามสกุลอีกมากที่ไม่ได้กล่าวมานี้
เปิดสอนโรงเรียน
โรงเรียนภาษาไทย ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2469 มีอาจารย์ดังนี้
1.            อาจารย์โง่น  ขยันหา เป็นอาจารย์คนแรกในบ้านดงแคนใหญ่
2.            อาจารย์เนียบ  ส่งเสริม
3.            อาจารย์ประเวช  คุณานุวัฒน์
4.            อาจารย์เพ็ง  พุฒตาลดง
5.            อาจารย์พา  จักษุดำ หรือ พิสิทธิ์ จิระวัฒนานนท์ ( พ่อนายอำเภอศานิจ จิรวัฒนานนท์ )
ประวัติไก่ย่างบ้านแคนใหญ่
   ประวัติไก่ย่างบ้านดงแคนใหญ่ นางเก๊ง  บุญเฉลียว  เป็นคนบ้านกอก ตำบลไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลฯ เข้ามาอยู่บ้านดงแคนใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2495 ได้นำเอาสูตรไก่ย่างมาให้ลูกหลาน บ้านดงแคนใหญ่ขาย ไม่ตำกว่า 70 เจ้าที่ขายไก่ย่าง จึงมีคำขวัญของอำเภอคำเขื่อนแก้วว่า
เมืองโบราณ ธารสองสาย ไก่ย่างรสเด็ด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ
ความหมายของคำขวัญ
เมืองโบราณ       หมายถึง ดงเมืองเตย บ้านสงเปือย
ธารสองสาย       หมายถึง แม่น้ำเซ  แม่น้ำชี
ไก่ย่างรสเด็ด     หมายถึง ไก่ย่างบ้านดงแคนใหญ่
แหล่งผลิตขาวหอมมลิ   หมายถึง ไร่นา ในอำเภอคำเขื่อนแก้ว
                                         ปลูกข้าวหอมมะลิ ดีที่สุดในยุคนี้

ประวัติเสาปูนดงแคนใหญ่
  มีการทำเสาปูนเริ่มแรก มีนายทุม  ภาคะ เป็นคนเริ่มแรกสร้างบ้านให้ นายสมัย ศรีงาม 1 หลัง นายนวน 1 หลัง บ้านนายผา ทองทา 1 หลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 ทุกวันนี้มีเสาปูนบ้านดงแคนใหญ่ มี 200 กว่าเจ้า เช่นที่จังหวัดอุบลฯ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ นายทุม ขายพิมพ์เสาให้นายหนู สีงาม นายหนู ขายพิมพ์ไปให้นายบุญเลิศ พลพวก ต่อมานายบุญเลิศได้เปลี่ยนจากพิมพ์ไม้ เป็นพิมพ์เหล็กมาจนถึงทุกวันนี้

ประวัติวัดบ้านดงแคนใหญ่
   วัดบ้านดงแคนใหญ่มี 3 วัด 1. วัดหอไตร  2. วัดประชาเฉลิมเกียรติ 3.วัดป่าดง                 แคนใหญ่
1.            วัดหอไตร เป็นวัดก่อตั้งวัดแรกของบ้านดงแคนใหญ่ ปัจจุบัน เป็นของหมู่ 4 , 10 , 13
2.            วัดประชาเฉลิมเกียรติ เป็นวัดก่อตั้งวัดที่ 2 ปัจจุบันเป็นวัดของหมู่ที่ 1,9เนื่องจากประชาชนเริ่มมากขึ้นมีการขยายหมู่บ้าน ก็เลยได้สร้างเพิ่ม  ก่อตั้งเมื่อ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513  ปัจจุบันเป็นวัดถูกต้องตามกฎหมายของกรมศาสนา   มีท่านพระครูกิตติ ธรรมนาถ เป็นเจ้าอาวาสและหลวงปู่เสา กันตะมาโน เป็นรองเจ้าอาวาส โดยการตั้งนายไทย  ศิลารักษ์  กำนันตำบลดงแคนใหญ่  นายอินทร์ กองทำ และนายแสง  เสาแก้ว เป็นผู้ช่วย
3.            วัดป่าดงแคนใหญ่ สร้างเมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2541

โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลดงแคนใหญ่ ก่อตั้งเมื่อ 2524 แต่ก่อนนั้นอยู่ที่ ศูนย์เด็กเล็กบ้านดงแคนใหญ่ จากนั้นย้ายไปอยู่โนนยาง ทิศตะวันตกของบ้าน ประมาณ 800 เมตร เป็นโรงพยาบาลดีเด่นของปี พ.ศ. 2550 จากอนามัยเป็นโรงพยาบาลโดยการนำของ นายขจรเกียติ อุปยโสธร ( ต่างประเทศมาดูงานของโรงพยาบาล ทุกเดือน )
ไปรษณีย์
ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2537

ไฟฟ้า
ไฟฟ้าเข้าหมูบ้านดงแคนใหญ่ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2521

ประปา
ประปาหมู่บ้านตั้งเมื่อ พ.ศ. 2537
รายชื่อกำนันตำบลดงแคนใหญ่
   กำนันตำบลดงแคนใหญ่
1.            นายโกบ   ก่อน พ.ศ. 2456
2.            นายแสง   ก่อน พ.ศ. 2456
3.            นายคูณ  มาลัย
4.            นายกิง  ขันธุลา
5.            นายโหง  บุญสุข
6.            นายตระกูล  เหล็กกล้า ( หรือตั้ว )
7.            นายจันทร์  รวมธรรม
8.            นายไทย  ศิลารักษ์
9.            นายสุนทร  บุญแท้
10.    นายสวัสดิ  ศิลารักษ์
11.    นายรุ่งโรจน์  ณ.อุบลฯ
12.    นายพา  นักผูก
13.    นายสมาน  ทองทา
14.    นายบุญสอน  ทองลือ
15.    นายประสิทธิ์  รวมธรรม ( กำนันปัจจุบัน )

รายชื่อ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านดงแคนใหญ่
1.            นายผา  นาแก้ว                                  12. นายใบ  ทองทา
2.            นายกิง  ขันธุลา                                  13. นายแหลม  ทองทา
3.            นายดี  ทองทา                                    14. นายสอน  เสาแก้ว
4.            นายเคน  สุตคาน                                15. นายวันดี  ภาคะ ( พุธ )
5.            นายเข็ม  ศิลารักษ์                               16. นายคำพา  ขันธุรา
6.            นายทุม  ภาคะ                                     17. นายเหลา  ดีละลาย
7.            นายจันดี  ศิลารักษ์                              18. นายสุพัฒ  ทองลือ
8.            นายทุย  ศิลารักษ์                                 19. นายมนต์  วงศ์ชาลี
9.            นายไทย  ศิลารักษ์                               20. นายเสาร์  ทองทา
10.    นายไหม  ภาคะ                                    21. นายเสาร์  เสาแก้ว
11.    นายเฉลิม  วงค์อนันต์                           22. นายเสาร์  วงศ์อนันต์
                                                             23.  นายจินดา  ทองทา
                                                             24. นายสอน  นักผูก
** ถ้าหมู่ใหนเป็นกำนันจะไม่มีผู้ใหญ่บ้าน
บ้านดงแคนใหญ่ตั้งริมถนนแจ้งสนิท ห่างจากจังหวัดอุบลฯ 66 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดยโสธร 37 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอคำเขื่อนแก้ว 14 กิโลเมตร

บุญบั้งไฟ 200 กว่าปีมาแล้ว
ผู้เขียนก็เกิดไม่ทัน อายุเข้าไป 74 ปีแล้ว ปี พ.ศ. 2553 แต่ก่อนนั้นบั้งไฟเลาไม้ ใช้ไม่ไผ่ตอกมัดก็ใช้ไม้ไผ่ มัดเชือกยาวๆ แล้วก็เอาตอกพันเลาไม้ไผ่ ถ้าบั้งไฟหมื่นใช้ไม้ไผ่ยาวๆ ตอกมัด สาเหตุที่เรียกบั้งไฟหมื่นดินประสิว ถ่านไม้ชั่งน้ำหนัก 12 กิโลกรัม
ก็เรียกบั้งไฟหมื่น พัฒนามาเลื่อยๆจนถึงปัจจุบันเป็นเลาพาสล่อนแทนเลาเหล็ก   ช่างสมัยนั้นมีอาจารย์วัน นักผูก เป็นนายชั่งใหญ่  บ้านดงแคนใหญ่ ถือเป็นประเพณีมาแต่โบราณ มีการเอาบุญบั้งไฟทุกปี ลูกหลานจะอพยพไปอยู่ที่อื่น พอถึงงานบั้งไฟ ก็ต้องกลับมาพบประพี่น้องในงานบุญบั้งไฟ ก็ต้องมากันขาดเสียมิได้
ผู้ให้ข้อมูล
1.            นายทุม  ภาคะ อายุ 88 ปี  มรณะปี พ.ศ. 2532
2.            นายทุย  เสาแก้ว มรณะปี พ.ศ. 2552 อายุได้ 96 ปี
3.            พระทุย  ธีระปัญโย อายุ 90 ปี  ยังมีชีวิตอยู่
4.            อาจารย์เกรียงศักดิ์  สายพิมพ์





2 ความคิดเห็น:

  1. พระทุย ธีระปัญโย มรณะ

    ตอบลบ
  2. Schick Quattro Titanium Steel - Titanium Art | iTanium-Arts
    Schick quattro titanium mokume gane titanium steel. ti89 titanium calculators Description; Brand. Schick t fal titanium quattro Titanium Steel Item Dimensions LxWxH: 3.5 x 4.5 x 4.5 inchesItem Weight: 3.5 apple watch series 6 titanium ounces Rating: 4 · ‎1 review · ‎$14.50 · ‎In titanium white paint stock

    ตอบลบ